Cryptocurrency คืออะไร?
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คือกลุ่มของสกุลเงินดิจิทัลหรือสกุลเงินเสมือนที่ใช้การเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัยและเป็นมาตรการต่อต้านการปลอมแปลงเงิน เหรียญคริปโตและโทเค็นจะถูกโอนระหว่างผู้ที่ใช้ Crypto Wallet ที่มีรหัสสาธารณะและรหัสส่วนตัวเพื่อใช้ในการทำธุรกรรม ธุรกรรมเหล่านั้นจะได้รับการตรวจสอบและบันทึกไว้บน Blockchain โดยเครือข่ายกระจายโหนดเพื่อให้ความโปร่งใสและความเป็นอิสระ
เนื่องจากเหรียญคริปโตนั้นไม่ได้ยึดอยู่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง มูลค่าของเหรียญจึงไม่ได้ถูกควบคุมโดยธนาคารกลาง แต่จะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดแทน ด้วยเหตุนี้ บิทคอยน์ ซึ่งเป็นเหรียญคริปโตที่ใหญ่ที่สุดตามมูลค่าตลาดหรือตามมูลค่าเหรียญมักจะมีแนวโน้มราคาที่เหมือนกับโลหะมีค่าอย่างทองและเงินนั่นเอง
Techopedia จะมาอธิบายว่าสกุลเงินดิจิทัล หมายถึงอะไรกันแน่?
เงินดิจิตอลหรือเหรียญคริปโตนั้นต่างจากสกุลเงินดั้งเดิมที่ออกโดยรัฐบาล เพราะจะเป็นอิสระจากหน่วยงานต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีบ Blockchain แบบกระจายอำนาจเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ปลอดภัย
Gavin Andresen หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ Bitcoin กล่าวกับ Forbes.com ว่าเหรียญคริปโตได้รับการออกแบบมาเพื่อนำ “สกุลเงินที่กระจายอำนาจของประชาชน” กลับมา ซึ่งหมายความว่าเหรียญคริปโตจะทำให้ธนาคารที่รวมศูนย์ไม่สำคัญอีกต่อไป เนื่องจากบิทคอยน์จะต้องเข้ารหัสข้อมูลทุกครั้งที่มีการโอนเหรียญ โดยผู้ใช้เหรียญแต่ละคนจึงมีรหัสสาธารณะและส่วนตัวเป็นของตนเอง
ธุรกรรมที่เกิดจากเหรียญคริปโตจะไม่เปิดเผยตัวตนและไม่สามารถติดตามได้ จึงทำให้เกิดช่องทางสำหรับการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เนื่องจากเหรียญคริปโตไม่มีผู้รับผิดชอบส่วนกลาง ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย และผู้ให้บริการชำระเงินไม่ได้มีอำนาจควบคุม Bitcoin Wallet สำหรับนักลงทุนคริปโต การไม่เปิดเผยตัวตนที่ว่านี้ถือเป็นจุดแข็งสำคัญของตัวเทคโนโลยี แม้ว่าจะมีโอกาสเกิดการละเมิดกฎหมายก็ตาม เพราะ Cryptocurrency คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจจากสถาบันไปสู่บุคคลได้นั่นเอง
ประวัติฉบับย่อเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี่
คอนเซ็ปต์ของเหรียญคริปโตนั้นต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1980 และ 1990 ตอนที่ผู้บุกเบิกอย่าง David Chaum ได้พัฒนาเงินดิจิตอลและเทคนิคการเข้ารหัสเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรม อย่างไรก็ตาม สกุลเงินดังกล่าวก็ไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่ง Bitcoin เปิดตัวในปี 2009 โดยบุคคลนิรนามที่รู้จักกันในชื่อ Satoshi Nakamoto ยุคสมัยใหม่ของเหรียญคริปโตจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ตอนนั้น
วิสัยทัศน์ของ Nakamoto ถูกระบุไว้ใน Whitepaper ในชื่อ “Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System” ว่าเป็นการสร้างระบบนิเวศเพื่อการชำระเงินที่ดำเนินการโดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง เช่น ธนาคารหรือรัฐบาล
เทคโนโลยี Blockchain ของ Bitcoin ได้เข้ามาแก้ปัญหาการจ่ายเงินซ้ำที่เกิดขึ้นกับเหรียญคริปโต ทำให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น โดย Blockchain จะทำหน้าที่ในการกระจายอำนาจผ่านเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่บันทึกธุรกรรมทั้งหมดผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเพิ่มเป็นบล็อกที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้
หลังจากความสำเร็จของบิทคอยน์ก็มีเหรียญคริปโตทางเลือกมากมายที่เรียกกันว่า “Altcoin” เริ่มปรากฏให้เห็นในตลาด เช่น Litecoin ที่สร้างขึ้นในปี 2011 โดย Charlie Lee อดีตวิศวกรของ Google ซึ่งทำให้ทำธุรกรรมได้รวดเร็วขึ้นและเปิดตัวอัลกอริทึมการขุดเหรียญคริปโตนอกจากบิทคอยน์ ส่วน Ethereum เปิดตัวในปี 2015 โดย Vitalik Buterin ที่ได้นำสัญญาอัจฉริยะมาใช้งานเพื่อให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) บน Blockchain
ตลาดคริปโตมีการเติบโตและมีการหาโอกาสทำกำไรอย่างมหาศาลในช่วงตลาดขาขึ้นในปี 2017 โดยราคาบิทคอยน์สูงถึงเกือบ 20,000 ดอลลาร์ และ Altcoin ก็มักจะเคลื่อนไหวตามแนวโน้มบิทคอยน์ อย่างไรก็ตาม การปรับฐานของตลาดในเวลาต่อมาก็ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความผันผวนและการหาโอกาสทำกำไรจากเหรียญคริปโตอยู่ไม่น้อย
Bitcoin แตะระดับสูงสุดที่ 69,000 ดอลลาร์ในปี 2021 และร่วงลงต่ำกว่า 16,000 ดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2022 เนื่องจากการล่มสลายของกระดานแลกเปลี่ยนหลักๆ หลายแห่งที่ทำให้ตลาดถดถอยลง อย่างไรก็ตาม เหรียญดังกล่าวสามารถทำจุด All Time High สูงกว่า 73,000 ดอลลาร์ไปเมื่อเดือนมีนาคม 2024 ตามข้อมูลจาก CoinMarketCap
แม้ว่าราคาจะผันผวนเป็นบางครั้งและมีความท้าทายด้านข้อบังคับบ้าง แต่ระบบนิเวศของคริปโตคือการมุ่งเน้นพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi), โทเค็นที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (NFT), และการทำงานร่วมกันของ Blockchain ก็ได้ทำให้ยูทิลิตี้และการใช้งานที่เป็นไปได้ของเหรียญคริปโตมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากการเป็นเงินสดในรูปแบบดิจิทัลทั่วไป
ตอนนี้ตลาดคริปโตมีสินทรัพย์ดิจิทัลกว่าหลายพันรายการ โดยแต่ละสินทรัพย์ก็มีฟีเจอร์เฉพาะ กรณีการใช้งาน และคอมมิวนิตี้เป็นของตัวเอง ซึ่งประกอบไปด้วยเหรียญที่เน้นความเป็นส่วนตัวอย่าง Monero ไปจนถึงเหรียญที่ใช้ภายในแพลตฟอร์มอย่าง Binance Coin ความหลากหลายของสกุลเงินดิจิทัล คือการสะท้อนให้เห็นถึงการนำไปใช้และการทดลองที่เพิ่มขึ้นภายในระบบนิเวศคริปโตนั่นเอง
เหรียญคริปโตทำงานอย่างไร?
Cryptocurrency คือการทำงานที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นหัวใจสำคัญ การทำความเข้าใจวิธีการทำงานของเหรียญคริปโต07’เกี่ยวข้องกับการเข้าใจความซับซ้อนของ Blockchain เช่นเดียวกับคอนเซ็ปต์หลัก เช่น การขุด การกระจายอำนาจ และความปลอดภัยในการเข้ารหัส
Blockchain
เทคโนโลยี Blockchain ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังขอเหรียญคริปโตส่วนใหญ่ โดยให้ความโปร่งใส ความปลอดภัย และระบบกระจายอำนาจสำหรับการบันทึกและตรวจสอบธุรกรรม พูดง่ายๆ ได้ว่า Blockchain เป็นฐานข้อมูลแบบกระจายอำนาจที่ประกอบด้วยบล็อกข้อมูลที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันตามลำดับ รวมตัวกันจนกลายเป็นโซ่หรือเชนที่เชื่อมถึงกัน
แต่ละบล็อกในเชนจะประกอบด้วยชุดธุรกรรม พร้อมด้วยแฮชการเข้ารหัสของบล็อกก่อนหน้าและ Timestamp โครงสร้างดังกล่าวทำให้ทุกธุรกรรมมีการเชื่อมโยงแบบเข้ารหัสกับธุรกรรมก่อนหน้าผ่านบันทึกป้องกันการปลอมแปลง
ความปลอดภัยของการเข้ารหัส
เหรียญคริปโตอาศัยการเข้ารหัสเพื่อให้ได้มาซึ่งความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของธุรกรรม การเข้ารหัสคีย์สาธารณะจะถูกใช้เพื่อสร้างคู่ของคีย์เข้ารหัส โดยรหัสสาธารณะจะทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของ Crypto Wallet เพื่อรับเงิน และรหัสส่วนตัวซึ่งเจ้าของ Crypto Wallet จะต้องเก็บเป็นความลับจะต้องใช้เพื่ออนุมัติธุรกรรมที่อนุญาตให้มีการโอนเงิน
เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้น ธุรกรรมดังกล่าวจะถูกส่งไปยังเครือข่าย Blockchain และตรวจสอบโดยเครือข่ายของระบบคอมพิวเตอร์อย่างโหนดผ่านกระบวนการที่เรียกว่าฉันทามติ เมื่อตรวจสอบแล้ว ธุรกรรมจะรวมอยู่ในบล็อกและเพิ่มลงใน Blockchain การใช้ลายมือชื่อดิจิทัลและกลไกฉันทามติ เช่น Proof of Work (PoW) หรือ Proof of Stake (PoS) จะทำให้มั่นใจได้ว่ามีเพียงธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะได้รับการยอมรับและบันทึกไว้บน Blockchain
กลไกฉันทามติและการขุดเหรียญ
การขุดเป็นกระบวนการที่มีการเพิ่มธุรกรรมใหม่บน Blockchain และเหรียญคริปโตใหม่จะถูกสร้างขึ้นในระบบ Proof of Work เช่น ระบบที่ใช้โดยบิทคอยน์ นักขุดต้องแข่งขันกันเพื่อแก้ปริศนาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อตรวจสอบธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่ ซึ่ง Cryptocurrency คือรางวัลที่พวกเขาจะได้รับ กระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังในการคำนวณและพลังงานอย่างมาก แต่ก็เพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและสร้างแรงจูงใจในการขุดนั่นเอง
กลไกฉันทามติอื่น ๆ เช่น Proof of Stake จะเป็นการตรวจสอบธุรกรรมของผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่ล็อคเหรียญคริปโตไว้บน Blockchain โดยจะผู้ตรวจสอบเหล่านี้หรือ “ผู้ Stake” จะถูกเลือกตามจำนวนเหรียญคริปโตที่ถือเอาไว้และจะได้รับรางวัลเป็นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหรือเหรียญที่สร้างขึ้นใหม่สำหรับการเข้าร่วมเครือข่าย
การกระจายอำนาจและการทำธุรกรรมแบบเพียร์ทูเพียร์
หนึ่งในฟีเจอร์สำคัญของ Cryptocurrency คือการกระจายอำนาจ ซึ่งหมายความว่าจะดำเนินการโดยไม่มีตัวกลางใดๆ แต่เครือข่ายของนักขุดหรือโหนดจะควบคุมเครือข่ายแทน และธุรกรรมจะเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติหรืออาศัยหน่วยงานอื่น เช่น ธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงิน
สัญญาอัจฉริยะและ DeFi
ในขณะที่เหรียญคริปโตถูกพัฒนามาเพื่อแลกเปลี่ยนในตอนต้น แต่ยูทิลิตี้ของเหรียญก็ได้ขยายการทำงานที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ผ่านสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งเป็นสัญญาที่เขียนด้วยตนเองซึ่งทำงานบน Blockchain ที่เข้ากันได้ โดยข้อกำหนดของสัญญาจะถูกเขียนเป็นโค้ด จึงทำให้สัญญาอัจฉริยะเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติและเขียนข้อตกลงที่เชื่อถือได้ พร้อมทำให้รองรับแอพพลิเคชันได้มากมาย นอกเหนือจากการทำธุรกรรมแบบเพียร์ทูเพียร์ธรรมดา
การเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชันที่ใช้ประโยชน์จากสัญญาอัจฉริยะเพื่อสร้างเครื่องมือทางการเงินแบบกระจายอำนาจ เช่น สินเชื่อหรือสินทรัพย์แบบโทเค็นที่สามารถแลกเปลี่ยนบนกระดานแลกเปลี่ยนได้
สกุลเงินดิจิตอล vs. สกุลเงินดั้งเดิม
การเกิดขึ้นของเหรียญคริปโตได้จุดประกายให้เกิดการถกเถียงกันเกี่ยวกับบทบาทและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเงินเฟียตดั้งเดิมที่ออกโดยรัฐบาล แม้ว่าสกุลเงินทั้งสองจะมีความคล้ายคลึงกันในฐานะตัวกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่สำคัญในแง่ของการกระจายอำนาจ ความปลอดภัย และการทำงานอยู่
การกระจายอำนาจ
Cryptocurrency
ทำงานบนเครือข่าย Blockchain แบบกระจายอำนาจ
สกุลเงินดั้งเดิม
รวมศูนย์ ออกและควบคุมโดยรัฐบาล
ความปลอดภัย
Cryptocurrency
เพิ่มความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส
สกุลเงินดั้งเดิม
อาศัยตัวกลาง เสี่ยงต่อการฉ้อโกง
ความโปร่งใส
Cryptocurrency
ธุรกรรมจะถูกบันทึกไว้ในเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทสาธารณะเพื่อเพิ่มความไว้วางใจ
สกุลเงินดั้งเดิม
กระบวนการมักจะดำเนินการโดยไม่ชัดเจนผ่านตัวกลาง
การทำธุรกรรมข้ามพรมแดน
Cryptocurrency
สามารถทำธุรกรรมข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องแปลงสกุลเงิน
สกุลเงินดั้งเดิม
อาจต้องใช้ตัวกลางและแปลงสกุลเงิน
ความผันผวน
Cryptocurrency
ขึ้นชื่อเรื่องความผันผวนระดับสูงจากปัจจัยต่างๆ
สกุลเงินดั้งเดิม
โดยทั่วไปมีความเสถียรมากกว่าการกำกับดูแลของหน่วยงาน
คุณสมบัติของ Cryptocurrency
เหรียญคริปโตมีฟีเจอร์มากมายที่ทำให้มีความแตกต่างจากเงินเฟียต และมีส่วนทำให้ความนิยมและมีการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น
- การกระจายอำนาจ: ด้วยการดำเนินการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายอำนาจ จึงไม่มีหน่วยงานใดที่สามารถควบคุมเหรียญคริปโตได้ เพิ่มความโปร่งใส ไม่มีการเซ็นเซอร์ และทำให้เกิดอธิปไตยทางการเงิน
- ความโปร่งใส: เหรียญคริปโตใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้บันทึกธุรกรรมที่โปร่งใสและเข้าถึงได้โดยทั่วไป ทุกธุรกรรมจะถูกบันทึกไว้ในเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ดังนั้นผู้ใช้ทุกคนสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของธุรกรรมโดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง
- ความปลอดภัย: เหรียญคริปโตใช้การเข้ารหัสเพื่อรับรองความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของธุรกรรม
- การที่ไม่สามารถแก้ไขได้: เมื่อธุรกรรมถูกบันทึกบน Blockchain ธุรกรรมนั้นจะไม่สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการฉ้อโกงและเพิ่มแนวทางการตรวจสอบที่เชื่อถือได้สำหรับธุรกรรมทางการเงิน
- การเข้าถึงตลอด 24 ชั่วโมง: เหรียญคริปโตทำงานบนเครือข่ายกระจายอำนาจระดับโลกที่สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แตกต่างจากระบบการเงินแบบดั้งเดิมที่ถูกจำกัดเวลาทำการ
สกุลเงินดิจิทัลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
นับตั้งแต่บิทคอยน์เปิดตัวในปี 2009 ก็มี Altcoin และเหรียญคริปโตอีกหลายประเภทที่ได้เปิดตัวในตลาด แต่ละประเภทก็มาพร้อมฟีเจอร์ กรณีการใช้งาน และฟังก์ชันการทำงานของตัวเองที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น:
Utility Token (โทเค็นเพื่อการใช้ประโยชน์)
Utility token เป็นเหรียญคริปโตที่ทำมาเพื่อวัตถุประสงค์หรือฟังก์ชันเฉพาะบน Blockchain เช่น การเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการ การมีส่วนร่วมในการกำกับดูแล หรือการใช้เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เข้าร่วมเครือข่าย ตัวอย่างได้แก่ โทเค็น LINK ของ Chainlink ซึ่งอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างสัญญาอัจฉริยะและแหล่งข้อมูลภายนอก และโทเค็น UNI ของ Uniswap ซึ่งให้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงแก่ผู้ใช้และใช้เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมบน Decentralized Exchange ของ Uniswap
Privacy Coin (เหรียญเพื่อความเป็นส่วนตัว)
Privacy Coin ให้ความสำคัญไปที่การไม่เปิดเผยตัวตนและการรักษาความลับในการทำธุรกรรมโดยใช้การเข้ารหัสขั้นสูงเพื่อซ่อนรายละเอียดการทำธุรกรรมและข้อมูลระบุตัวตนของผู้ใช้ ตัวอย่างของเหรียญเหล่านี้ ได้แก่ Monero (XMR), Zcash (ZEC) และ Dash (DASH)
Security Token (โทเค็นเพื่อการเปลี่ยนหลักทรัพย์ทางการเงิน)
Security Token แสดงถึงความเป็นเจ้าของหรือการลงทุนในสินทรัพย์ในโลกจริง เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเปิดให้เทรดบนแพลตฟอร์ม Blockchain ตัวอย่างของเหรียญเหล่านี้ ได้แก่ หุ้นโทเค็น โทเค็นที่ได้รับการสนับสนุนจากอสังหาริมทรัพย์ และ Digital Bond
Stablecoin (เหรียญที่มีมูลค่าคงที่)
Stablecoin คือเหรียญคริปโตที่ออกแบบมาเพื่อรักษาความเสถียรของราคาโดยการยึดมูลค่ากับสินทรัพย์อื่น เช่น เงินเฟียตอย่างสกุลเงินดอลลาร์หรือยูโร ไปจนถึงสินค้าโภคภัณฑ์ เหรียญเหล่านี้มอบวิธีการที่เชื่อถือได้ในการโอนคุณค่าและป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนในตลาดคริปโต เหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ Tether (USDT) และ USD Coin (USDC)
CBDC (เหรียญคริปโตของธนาคารกลาง)
CBDC เป็นเหรียญคริปโตที่ออกและควบคุมโดยธนาคารกลาง ซึ่งเป็นเหรียญดิจิทัลของเงินเฟียตที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ประเทศที่กำลังพัฒนาหรือเริ่มนำ CBDC ไปใช้งานจริง ได้แก่ จีน (หยวนดิจิทัล) และประเทศในสหภาพยุโรป (ยูโรดิจิทัล)
คำศัพท์เกี่ยวกับเหรียญคริปโตที่ควรรู้
ตลาดคริปโตมีศัพท์เฉพาะที่เชื่อมโยงกับวิธีดำเนินการ รวมถึงตัวย่อต่างๆ ที่มีการใช้งานบนคอมมิวนิตี้ที่คึกคักบนอินเทอร์เน็ต ต่อไปนี้คือคำศัพท์พื้นฐานที่คุณควรทำความคุ้นเคยเอาไว้:
ข้อดีและข้อเสียของ Cryptocurrency คืออะไรบ้าง?
ข้อดี
- การกระจายอำนาจ
- ความโปร่งใส
- ความปลอดภัย
- การเข้าถึงบริการทางการเงิน
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมถูก
- ธุรกรรมข้ามพรมแดน
- การเข้าถึง
- นวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- โอกาสในการลงทุน โอกาสทำเงินสูงและสามารถกระจายความเสี่ยงได้
- ความเป็นส่วนตัวและการไม่เปิดเผยตัวตน
ข้อด้อย
- ความไม่แน่นอนด้านข้อบังคับ
- ความผันผวนของตลาด
- ความเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กและการโจมตีทางไซเบอร์
- ขาดการคุ้มครองนักลงทุน
- มีโอกาสถูกฉ้อโกงและถูกหลอก
- ให้ประสบการณ์ที่ซับซ้อนในการจัดการรหัส Crypto Wallet และการโอนเหรียญ
- มีโอกาสที่ตลาดจะถูกปั่น
- ใช้พลังงานสูงในการรันโหนดคอมพิวเตอร์
- ความท้าทายในการทำงานร่วมกันและการใช้งาน
- ไม่สามารถย้อนการทำธุรกรรมได้
ข้อกังวลด้านกฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล มีอะไรบ้าง?
แม้ว่าเหรียญคริปโตจะมาพร้อมกับนวัตกรรม การกระจายความเสี่ยง และการเข้าถึงบริการทางการเงิน แต่ก็ยังมาพร้อมกับความท้าทายทางกฎหมายและข้อบังคับที่ซับซ้อนที่ต้องจัดการเพื่อดึงศักยภาพสูงสุดของเหรียญเหล่านี้
ความไม่แน่นอนด้านข้อบังคับ
รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งทั่วโลกยังคงติดปัญหาในการจำแนกและควบคุมเหรียญคริปโต ทำให้เกิดข้อบังคับและแนวปฏิบัติไม่สอดคล้องกัน อาจส่งผลให้เกิดความสับสนให้กับธุรกิจและบุคคลที่อยู่ในตลาดคริปโต และอาจทำให้มีการนำไปใช้จริงน้อยลง
การปฏิบัติตามข้อบังคับ
ธุรกรรมที่เกิดจากเหรียญคริปโตเกี่ยวข้องกับข้อกังวลด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย และการกระทำที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากลักษณะการไม่เปิดเผยตัวตน เป็นผลให้หน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดข้อบังคับ AML และ KYC บนกระดานแลกเปลี่ยนคริปโตและผู้ให้บริการเพื่อลดความเสี่ยงลง
การเก็บภาษี
เหรียญคริปโตอาจต้องเสียภาษีกำไรจากการขายหุ้น ภาษีเงินได้ หรือการเก็บภาษีในรูปแบบอื่น ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจศาล อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีคริปโตอาจนำเกิดปัญหาในการบังคับใช้ เนื่องจากตัวเทคโนโลยีมีการกระจายอำนาจและไร้ขอบเขต ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีและการบังคับใช้ข้อบังคับ
การคุ้มครองผู้ลงทุน
เนื่องจากมีการหลอกลวง การฉ้อโกง และการปั่นตลาดอย่างแพร่หลาย นักลงทุนจึงอาจเสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์และอาจเกิดการสูญเสียได้ ทางหน่วยงานกำกับดูแลจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามมาตรการมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีการเปิดเผยตัวตน กำหนดข้อจำกัดทางการค้า และการบังคับใช้มาตรการต่อต้านการฉ้อโกง
การรักษาความปลอดภัยและการดูแล
กระดานแลกเปลี่ยนคริปโตและ Crypto Wallet เป็นเป้าหมายหลักสำหรับเหล่าแฮกเกอร์และอาชญากรไซเบอร์ที่พยายามเข้ามาขโมยเงินหรือทำให้ข้อมูลผู้ใช้ตกอยู่ในอันตราย การพิจารณาถึงขอบเขตการรับผิดชอบและการกู้คืนสินทรัพย์จึงอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายได้ เนื่องจากการกระจายอำนาจของเหรียญคริปโต
ปัญหาด้านเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เนื่องจากเหรียญคริปโตเข้าถึงได้ทั่วโลก ปัญหาทางกฎหมาย เช่น ข้อพิพาทเขตอำนาจศาล ธุรกรรมข้ามพรมแดน และความขัดแย้งทางกฎหมาย อาจเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้การปฏิบัติตามข้อบังคับและการบังคับใช้กฎระเบียบมีความซับซ้อนขึ้น
ความเสี่ยงของการลงทุนใน Cryptocurrency คืออะไร?
การลงทุนใน Cryptocurrency คือโอกาสทำกำไรที่สำคัญ แต่ก็มีความเสี่ยงที่นักลงทุนควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยเช่นกัน
อนาคตของ Cryptocurrency คืออะไร?
แม้จะมีความท้าทายและความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่การยอมรับจากสถาบันที่เพิ่มขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการยอมรับโดยทั่วไปก็กำลังปูทางไปสู่การทำให้ตลาดคริปโตเป็นนวัตกรรมและขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
โดยอนาคตของเหรียญคริปโตนั้นจะขึ้นอยู่กับขอบเขตความสนใจของนักลงทุนที่ต่อเนื่อเพียงพอ และเทคโนโลยี Blockchain สามารถแอพพลิเคชันได้หลากหลาย นอกจากการลงทุนในเหรียญคริปโตเพียงอย่างเดียวหรือไม่
บทสรุป – Cryptocurrency คืออะไร?
Cryptocurrency คือวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญในโลกการเงิน พร้อมมอบโอกาสทำเงินให้กับนักลงทุน ผู้ใช้ และผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงตลาดที่มีความผันผวนนี้ด้วยความระมัดระวัง ความรอบคอบ และความเข้าใจถึงความซับซ้อนและความเสี่ยงอย่างแท้จริงถือเป็นสิ่งสำคัญ